วิชานายหน้าประกันชีวิต ชุดที่1

1) โดยปกติเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทเรียกเก็บจากผู้เอาประกัน
ก) สูงขึ้นทุกปี
ข) สูงขึ้นในระยะแรก และลดลงในระยะปลาย
ค) คงที่ทุกปี
ง) แล้วแต่อัตราใหม่ที่บริษัทอาจเปลี่ยนแปลง

2) ผู้เอาประกันภัยสามารถเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ประกันภัยจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่งได้หรือไม่
ก) ไม่ได้ เพราะต้องได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนเป็นรายๆ
ข) ไม่ได้ เพราะเบี้ยประกันภัยแต่ละแบบไม่เท่ากัน
ค) ได้ โดยได้รับความยินยอมจากบริษัท
ง) ได้ แต่ต้องให้กรมธรรม์มีมูลค่าตามกรมธรรม

3) จรรยาบรรณข้อใดที่นายหน้าประกันชีวิตควรปฎิบัติมากที่สุดในการขายประกันชีวิต
ก) ลดเบี้ยประกันภัย เพื่อช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้จ่ายเบี้ยประกันภัยลดลง
ข) ช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย ให้ได้ทำประกันชีวิต
ค) แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยทำประกันภัย โดยมีจำนวนเงินเอาประกันชีวิตที่สูงมากเพื่อจะได้ผลประโยชน์สูงสุด
ง) ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอา ประกันภัย

4) เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยขาดอายุแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะขอต่ออายุสัญญาได้หรือไม่
ก) ได้ ถ้าผู้เอาประกันภัยขอต่ออายุสัญญาภายในระยะเวลากำหนด
ข) ได้ตลอดเวลา โดยชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระทั้งหมดรวมดอกเบี้ย
ค) ได้ตลอดเวลา โดยชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระทั้งหมด
ง) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

5) นาย ก ได้ทำประกันชีวิตกับบริษัทแห่งหนึ่ง มีความต้องการเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ใหม่ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่า แล้วมาปรึกษาท่านซึ่งเป็นนายหน้าประกันชีวิต ท่านควรให้ข้อเสนอแนะอย่างไร
ก) เปลี่ยนไปตามความประสงค์ของนาย ก จึงจะนับได้ว่าเป็นนายหน้าประกันชีวิตที่ให้บริการที่ดี
ข) ให้เปลี่ยนแบบกรมธรรม์ให้นาย ก เพราะเป็นความต้องการของนาย ก ไม่ใช่ท่านเป็นผู้แนะนำให้เปลี่ยน
ค) ให้เปลี่ยนแบบกรมธรรม์ให้นาย ก เพราะเป็นหน้าที่ของบริษัทมอบหมายให้ชี้ช่องให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิต
ง) ไม่ควรให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่ เพราะจะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์

6) การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ธรรมดา ถ้าอายุผู้เอาประกันภัยเท่ากับภัยมาตรฐาน และมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเท่ากัน แบบใดต้องชำระเบี้ยประกันมากสุด
ก) สะสมทรัพย์ 20/20
ข) สะสมทรัพย์ 10/10
ค) สะสมทรัพย์ 15/15
ง) เท่ากันทั้ง 3 แบบ

7) นาย ก เป็นนายหน้าประกันชีวิตชี้ช่องให้นาย ข ซึ่งเป็นเพื่อนสนิททำประกันชีวิต ถึงแม้จะเป็นเพื่อนสนิท นาย ก ก็มิได้ลดค่าบำเหน็จให้นาย ข แต่นาย ก ได้นำเงินบำเหน็จดังกล่าวไปใช้จ่ายส่วนตัว ท่านคิดว่านาย ก ทำผิดจรรยาบรรณหรือไม่
ก) ไม่ผิด เพราะไม่ได้ลดค่าบำเหน็จเพื่อจูงใจให้ทำประกันชีวิต
ข) ผิด เพราะไม่ได้ทำให้นาย ข เสียประโยชน์
ค) ผิด เพราะนาย ก ลดค่าบำเหน็จให้นาย ข นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่นาย ข ยังเป็นการช่วยเพื่อนอีกด้วย
ง) ผิด เพราะอาจทำให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัย

8) ข้อใดเป็นประโยชน์ของการประกันชีวิตที่มีต่อครอบครัว
ก) เพื่อการศึกษาของบุตร
ข) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของคู่ชีวิตที่เป็นหม้าย
ค) เพื่อเป็นรายได้ในยามเดือดร้อน
ง) ถูกทุกข้อ

9) ในจำนวนเงินเอาประกันภัยแบบประกันชีวิตที่เท่ากัน อัตราเบี้ยประกันภัยจะเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย แต่มีปัจจัยในการพิจารณารับประกันชีวิตบางอย่างที่อาจทำให้เบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นได้
ก) ประวัติการศึกษา
ข) ส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย
ค) ฐานะการเงิน
ง) ประวัติสุขภาพ

10) ตารางมรณะไทยที่บริษัทใช้ในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยมาจาก
ก) อัตรามรณะของผู้เอาประกันชีวิตที่แยกตามสาเหตุการเสียชีวิต
ข) อัตรามรณะของประชากรแยกตามอายุต่างๆ
ค) อัตรามรณะของผู้เอาประกันชีวิตที่แยกตามเพศ และอายุ
ง) อัตรามรณะของผู้เอาประกันชีวิตที่แยกตามอาชีพ

11) คุณสมบัติของการเป็นนายหน้าประกันชีวิตข้อหนึ่งบอกว่า นายหน้าประกันชีวิตต้องมีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อผู้เอาประกันภัยและเพื่อนร่วมอาชีพ ข้อใดต่อไปนี้ที่จะแสดงให้เห็นว่า นายหน้าประกันชีวิตมีความจริงใจในการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย แต่ประพฤติผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมของผู้ประกอบอาชีพนายหน้าประกันชีวิต
ก) ผู้เอาประกันภัยยังไม่มีเงินชำระเบี้ยประกันภัยงวดถัดไป จึงเสนอให้ความช่วยเหลือโดยการพาผู้เอาประกันภัยไปกู้เงินจากบริษัท เพื่อนำมาชำระเบี้ยประกันภัย
ข) ไปบริการเก็บเบี้ยประกันภัยทุกงวดอย่างสม่ำเสมอ และคอยให้ความช่วยเหลือในการติดต่อกับบริษัทแทนผู้เอาประกันภัย
ค) เป็นนายหน้าประกันชีวิตที่มีอุดมการณ์ว่าต้องสร้างสรรค์สังคม และหาวิถีทางที่จะให้กลไกของการประกันชีวิตได้รับใช้สังคมมากที่สุด โดยการชี้ช่องให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยทำประกันชีวิตที่มีแต่ความคุ้มครองการเสียชีวิตเท่านั้นเนื่องจากเบี้ยประกันภัยต่ำ
ง) ขอเอาประกันชีวิตมีภาระต้องใช้เงินมากในขณะที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยงวดแรกจึงให้ความช่วยเหลือ โดยการลดเงินค่าบำเหน็จจากเบี้ยประกันชีวิตให้ครึ่งหนึ่งเพื่อเป็นการจูงใจให้ทำประกันชีวิต

12) ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของการเสี่ยงภัย ในแง่ของการประกันชีวิต
ก) ความเป็นไปได้ที่จะประสบอุบัติเหตุทำให้เสียชีวิต
ข) โอกาสที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ
ค) ความเป็นไปได้ที่ทุกคนจะประสบกับการสูญเสียรายได้ในอนาคต
ง) ถูกทั้งข้อ ก และ ข

13) ความหมายของการประกันชีวิต คือข้อใด
ก) วิธีการร่วมป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ข) วิธีการร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องจากการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพ
ค) วิธีการขจัดภัยที่เกิดขึ้นในอนาคต
ง) วิธีการร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

14) นาย ก เป็นนายหน้าประกันชีวิตได้จัดการให้นาย ข เพื่อนของตนทำประกันชีวิต และในใบคำขอเอาประกันชีวิต นาย ข กรอกข้อมูลว่ามีบิดาป่วยเป็นโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น นาย ก รู้ดีว่าเพื่อนผู้นี้ต้องดูแลบิดาทุกวันอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าเพื่อนๆ ไม่รู้เรื่องการป่วยของบิดานาย ข จึงเป็นห่วงเพื่อนๆ คนอื่น ซึ่งรับประทานอาหารกับนาย ข ทุกวัน และกลัวว่าเพื่อนอาจมีโอกาสรับเชื้อโรคจากนาย ข จึงบอกกล่าวแก่เพื่อนๆ การกระทำของนาย ก ผิดหรือถูกตามจรรยาบรรณอาชีพนายหน้าประกันชีวิตเพราะอะไร
ก) ผิด เพราะว่าเปิดเผยความลับของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก
ข) ถูก เพราะว่ามีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อเพื่อนร่วมอาชีพ
ค) ผิด เพราะว่ามีพฤติกรรมที่ตั้งใจยั่วยุให้เกิดความรังเกียจเพื่อน
ง) ผิด จรรยาบรรณอาชีพนายหน้าประกันชีวิตตามเหตุผลที่กล่าวถึงในข้อ ก และข้อ ค รวมกัน

15) นาย ก ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 15/10 จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ชำระเบี้ยประกันภัยรายงวด 3 เดือน กรมธรรม์เริ่มมีผลบังคับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2530 ชำระเบี้ยประกันภัยถึงปีที่ 3 งวด 3 และนาย ก มาขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2534 นาย ก จะได้รับเงินเท่าไร (มูลค่าเวนคืนเงินสด ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 3 = 96 บาท/จำนวนเงินเอา ประกันภัย 1,000 บาท มูลค่าเวนคืนเงินสด ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 4 = 157 บาท/จำนวนเงินเอาประกัน 1,000 บาท)
ก) 9,600 บาท
ข) 15,700 บาท
ค) 14,175 บาท
ง) 11,125 บาท

16) การประกันชีวิตแบบใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการประกันวินาศภัยมากที่สุด
ก) แบบสะสมทรัพย์
ข) แบบชั่วระยะเวลา
ค) แบบตลอดชีพ
ง) แบบบำนาญ

17) การประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผล และชนิดไม่มีเงินปันผล มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ
ก) ระยะเวลาของการชำระเบี้ยแตกต่างกัน
ข) ระยะเวลาคุ้มครองแตกต่างกัน
ค) จำนวนเงินเอาประกันภัยแตกต่างกัน
ง) อัตราเบี้ยประกันภัยแตกต่างกัน

18) ในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ ผู้เอาประกันภัยต้องการกู้เงินจากบริษัท ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้สิทธิในการกู้เงินจากบริษัทเมื่อ
ก) ยื่นความจำนงต่อบริษัทได้ทุกเวลา
ข) ผู้รับประโยชน์ใช้สิทธิในการกู้เงินจากบริษัท
ค) กรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืนเงินสด โดยกู้เงินได้ไม่เกินจำนวนเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ขณะนั้น
ง) บริษัทยินยอม

19) ผู้รับประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยรายหนึ่งได้ไปติดต่อขอรับเงินกรณีผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ปรากฏว่าบริษัทแจ้งว่ากรมธรรม์สิ้นสุดระยะเวลาขยายไปแล้ว 3 เดือน บริษัทไม่ต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ หมายความว่า
ก) ผู้เอาประกันภัยได้เวนคืนกรมธรรม์ขอรับเงินสดคืนไปเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว
ข) ผู้เอาประกันภัยได้เปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบใช้เงินสำเร็จและสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองไปแล้ว 3 เดือน
ค) ผู้เอาประกันภัยได้เปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบขยายเวลา และสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองไปแล้ว 3 เดือน
ง) ผู้เอาประกันภัยขาดชำระเบี้ยประกันภัยเกินระยะเวลาผ่อนผันไปแล้ว 3 เดือน

20) การประกันชีวิตแบบตลอดชีพชำระเบี้ยประกันภัย 20 ปี ผู้เอาประกันภัยขอเวนคืนกรมธรรม์เพื่อขอรับเงินสดได้หรือไม่
ก) ได้ ถ้าได้ชำระเบี้ยประกันภัย และมีมูลค่าเงินสด
ข) ได้ เพราะเบี้ยประกันชีวิตสูง
ค) ไม่ได้
ง) ไม่ได้ เพราะเบี้ยประกันชีวิตต่ำ ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์


ชื่อของผู้เข้าสอบ



หัวข้อวิชาสอบ